6 เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด ยี่ห้อไหนดี แห่งปี 2023
การใช้ เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองชนิดพกพา ( selfmonitoring of blood glucose meter หรือเรียก กลูโคสมิเตอร์) ทำให้สามารถตรวจระดับน้ำตาลในเลือดได้เอง ใช้ควบคุมติดตามการเปลี่ยนแปลงค่าน้ำตาล ในแต่ละช่วงเวลา ในแต่ละวัน กรณีที่ไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง ควรมีผู้ดูแลที่สามารถใช้ เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด ได้เป็นผู้คอยแนะนำ เพราะหาก กรณีพบที่ ค่าระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ มีค่าสูงไปหรือต่ำไป ต้องไปพบแพทย์ เพื่อการรักษาอย่างถูกต้อง
ผู้ที่ควรใช้ เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด
- ผู้ป่วยที่ต้องการควบคุมเบาหวานอย่างเข้มงวด
- ผู้ป่วยที่มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำบ่อย ๆ
- ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน
- ผู้ป่วยที่ควบคุมเบาหวานไม่ได้
- ผู้ที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยเป็นเบาหวาน ต้องการเรียนรู้การดูแลตนเอง
- ผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพเพื่อไม่ให้เกิดโรค เป็นการรู้จักและป้องกันตัวเองก่อนการเกิดโรค
วิธีใช้เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด
วิธีใช้เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด
- เตรียมเครื่องตรวจวัด และแถบทดสอบหรือตลับทดสอบ ให้อยู่ในสภาพ พร้อมใช้งาน
- ปรับระดับความลึกของอุปกรณ์เข็มเจาะเลือดให้เหมาะสมกับสภาพ ความหนาของผิวบริเวณปลายนิ้ว
- ล้างมือให้สะอาด และทำให้แห้ง
- เจาะบริเวณด้านข้างของปลายนิ้วกลาง หรือนิ้วนาง เจาะเลือดในปริมาณเพียงเล็กน้อยที่บริเวณปลายนิ้ว ไม่ควรบีบเค้น
- กรณีที่เลือดไม่เพียงพอ ห้ามเค้นเลือด ให้เพิ่มระดับความลึกของเข็ม และ เจาะเลือดใหม่โดยเปลี่ยนบริเวณที่เจาะ ไม่ซ้ำบริเวณเดิม
- ตรวจวัดน้ำตาลในเลือดตามขั้นตอนการตรวจวัดของคู่มือการใช้งานหรือ เอกสารกำกับที่มาพร้อมกับเครื่องตรวจวัด
- กดห้ามเลือดบริเวณที่เจาะด้วยสำลีแห้งที่สะอาดจนเลือดหยุด
- ทิ้งเข็มที่ใช้แล้วและวัสดุปนเปื้อนอื่น ๆ ในภาชนะที่ป้องกันการแทงทะลุ ก่อนนำไปทิ้งถังขยะ
- หมายเหตุ วิธีตรวจน้ำตาลในเลือดตามคู่มือนี้เป็นคำแนะนำทั่วไป อาจแตกต่างจาก คู่มือของเครื่อง ให้ปฏิบัติตามคู่มือของเครื่องนั้น ๆ
ข้อควรระวังในการใช้ เครื่องมือตรวจวัดน้ำตาลในเลือด
- ปิดฝาให้สนิททันทีหลังเปิดใช้ แผ่นวัดต้องไม่เสื่อมสภาพ
- ตรวจสอบวันหมดอายุของแผ่นวัด
- เก็บรักษาเครื่องและภาชนะบรรจุแผ่นวัด ไว้ ในที่แห้งและเย็น
- ก่อนเจาะ นิ้วต้องสะอาดและแห้ง
- หลีกเลี่ยงการเจาะจากบริเวณผิวหนังที่มีการติดเชื้อ
- เจาะบริเวณด้านข้างของปลายนิ้ว จะเจ็บน้อยกว่า
- ไม่บีบเค้นเลือดบริเวณปลายนิ้ว เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลที่วัดได้ผิดพลาด
- ไม่ควรใช้เข็มเจาะมากกว่า 1 ครั้ง
- ทำความสะอาดช่องอ่านผลเป็นครั้งคราวเพื่อมิให้คราบเลือด รบกวนการอ่านผล
- ควรตรวจสอบประสิทธิภาพการใช้งานของเครื่องกับผู้แทนจำหน่าย อย่างสม่ำเสมอ ตามที่กำหนด
ระดับน้ำตาลในเลือดเท่าไร จึงถือว่าดี
- ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด ก่อนอาหาร 80 –120 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
- ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด หลังอาหาร น้อยกว่า 180 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
- ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด ก่อนเข้านอน 100 – 140 มิลลิกรัมต่อเดซิลิต
หมายเหตุ : ระดับน้ำตาลอาจมีความแตกต่างขึ้นอยู่กับหลักการและเทคนิคที่ใช้ ในการตรวจวัดตามระบุในรายละเอียดของเครื่องวัดนั้น ๆ
6 เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด ยี่ห้อไหนดี แห่งปี 2023
- Lumina OK Meter SET COMBO
- Glucosure Autocode
- Accu-Chek Performa
- GlucoLeader Blood Glucose Test Meter
- Terumo Medisafe EX
- Accu-Chek Guide
1. Lumina OK Meter SET COMBO
★★★★★
ได้รับมาตรฐาน MDSS จากประเทศเยอรมัน เป็นมาตรฐานเครื่องมือแพทย์ระดับสากล
ยี่ห้อ | Lumina OK Meter SET COMBO |
ความเร็วในการอ่านค่า | 6 วินาที |
ปริมาณเลือดที่ใช้ | 20-600mg/dL |
อายุแบตเตอรี่ | 1000 ครั้ง |
เครื่องตรวจน้ำตาล Lumina OK Meter SET COMBOติดอันดับ 1 ใน 3 เครื่องวัดน้ำตาลที่ดีที่สุด เป็นที่นิยมใน lazada จัดอันดับโดย sugartests.com
รับประกันคุณภาพตลอดอายุการใช้งาน ไม่ต้องใส่ CODE เสียบแท๊ปตรวจสามารถใช้งานได้ทันที มีหน้าจอสามารถ มี Function Backlight โดยกดปุ่มบริเวณข้างตัวเครื่อง 1 ครั้ง เพื่อความสะดวกในการอ่านค่ามากขึ้นเช่นการตรวจตอนเช้าที่มีแสงแดดส่องที่หน้าจอ สามารถตั้งค่าการเตือนให้ตรวจครั้งต่อไปได้มากถึง 4 ครั้ง มีปุ่มเดียวที่หน้าจอออกแบบมาเพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่าย
เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด นี้สามารถเก็บ ข้อมูลได้มากถึง 250 ครั้ง ใช้ถ่านขนาด 3 A หาซื้อได้ที่ร้านสะดวกซื้อทั่วไป ใช้งานได้ประมาน 1000 ครั้ง อ่านค่าง่าย มีรูปบอกถึงระดับการตรวจน้ำตาลในเลือดแสดงขึ้นที่หน้าจอ เช่น ค่าปกติ หรือค่าเริ่มสูง ใช้งานง่ายบริเวณช่องใส่ถ่านออกแบบมามีปุ่ม SET ค่าต่างๆ
โดยท่านลูกค้า Set แค่ครั้งเดียวในการเปลี่ยนถ่านเท่านั้น รายละเอียดในการ SET เครื่องอยู่ในคู่มือการใช้งานแบบง่ายทำการขั้นตอนสามารถ SET ได้ด้วยตัวเอง โรงงานผู้ผลิตได้รับมาตราฐาน ISO 13485 และ CE 0123 GMP Medical Device และได้รับรางวัลต่างๆมากหมาย MDSS FDA CFDA FREE SALES CMDCAS และได้ผ่านการทดสอบ TEST จากประเทศ GERMANY
อุปกรณ์ประกอบชุด
1.ปากกา สามารถปรับได้ 5 ระดับ รูปทรงกระทัดรัด
2.ถ่าน Alkaline 3 A จำนวน 2 ก้อน
3.กระเป๋าใส่ตัวเครื่อง
4.เข็มเจาะ และ แผ่นตรวจ Strip จำนวน 50 ชิ้น
5.คู่มือการใช้งาน วิธีการตั้งค่าของตัวเครื่อง
คุณสมบัติของแผ่นตรวจ Strip
1.แผ่นตรวจได้ผลิตมาให้มีอายุการใช้งานได้นานถึง 2 ปี
2.แผ่นตรวจหยดเลือดเพียงแค่ 0.7 UL อ่านค่าทันที ภายใน 6 วินาที
3.แผ่นตรวจ 1 กระปุกมีแผ่นตรวจจำนวน 25 ชิ้น ชุด COMBO มี. 2 กระปุก
4.แผ่นตรวจ Easy to test
2. Glucosure Autocode
★★★★★
ประหยัดพลังงานด้วยระบบปิดเครื่องอัตโนมัติ สามารถวัดค่าได้ทันทีโดยไม่ต้องตั้งค่า (ไม่ต้องใส่ Code)
ยี่ห้อ | Glucosure Autocode |
ความเร็วในการอ่านค่า | 6 วินาที |
ปริมาณเลือดที่ใช้ | 20-600mg/dL |
อายุแบตเตอรี่ | 300 ข้อมูล |
เครื่องวัดน้ำตาล ตรวจน้ำตาล GlucoSure AutoCode (พร้อมแผ่นตรวจน้ำตาล 25 ชิ้นและอุปกรณ์ครบชุด)ใช้งานง่ายเพียง 3ขั้นตอน (1.ปากกาเจาะเลือด 2.แตะหยดเลือด 3.รอผล)
วัดค่าได้ทันทีโดยไม่ต้องตั้งค่า (ไม่ต้องใส่ Code) ช่วงที่วัดค่าได้ 20-600 mg/dL Hematocrit range 30-55% บันทึกค่าการวัดได้ 300 ข้อมูล ประมวลผลค่าเฉลี่ยได้ใน 7 14 และ 30 วัน มีระบบปิดเครื่องอัตโนมัติ เมื่อไม่ใช่งาน
ตัวเครื่องมีน้ำหนักเพียง 29 g บริษัทผู้ผลิต Apex Biotechnology Corporation ได้รับมาตรฐาน ISO 13485:2016, CE0197 และทดสอบตามมาตรฐาน ISO 15197:2013 อุปกรณ์การใช้งานครบชุด รับประกันตลอดอายุการใช้งาน
อุปกรณ์ประกอบชุด
1.เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด Glucosure
2.แผ่นทดสอบน้ำตาล x 25 ชิ้น
3.ปากกาเจาะเลือด และเข็มเจาะเลือด x 25 ชิ้น
4.น้ำยาทดสอบความคลาดเคลื่อน
5.กระเป๋าสำหรับใส่อุปกรณ์
6.คู่มือการใช้งานภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
เครื่องวัดน้ำตาล Glucosure Autocode วัดค่าได้ทันทีโดยไม่ต้อง Set เครื่อง หรือใส่ code ใครๆก็สามารถวัดระดับน้ำตาลได้ด้วยตนเอง มีความแม่นยำสูง ใช้งานง่าย เพียง 3 ขั้นตอน 1. ใส่แผ่นตรวจ 2. แตะหยดเลือด 3. แสดงผลใน 6 วินาที
# แผ่นตรวจน้ำตาล (Test Strip) เก็บได้ยาวนาน
# รับประกันตลอดอายุการใช้งาน
3. Accu – Chek Performa
★★★★★
อ่านค่าได้แม่นยำตามมาตรฐาน ISO พกพาสะดวกใช้งานง่าย ใช้เลือดน้อย
ยี่ห้อ/รุ่น | Accu-Chek Performa |
ความเร็วในการอ่านค่า | 5 วินาที |
ปริมาณเลือดที่ใช้ | 0.6 ไมโครลิตร |
อายุแบตเตอรี่ | 500 ข้อมูล |
ACCU-CHEK Performa เครื่องตรวจน้ำตาล พร้อมใช้งาน ไม่ต้องเซ็ตเครื่อง สามารถตั้งเตือนตรวจหลังอาหารได้ ใช้เวลาอ่านค่า 5 วินาที แบตหนึ่งก้อนใช้งานได้ราว 2,000 test ใช้เวลาในการอ่าน 5 วินาที ใช้งานได้ในอุณหภูมิ 6°C ถึง 44°Cการเก็บรักษาเครื่อง: 25°C ถึง +70°C ไม่ใส่แบตเตอรี่ -10°C ถึง +50°C ใส่แบตเตอรี่ ทนความชื่น 10 ถึง 90% เก็บบันทึกข้อมูลได้ 500 ค่า ตามวันเวลา ขนาด 93 x 52 x 22 mm (L x W x H) น้ำหนักขณะมีแบตเตอรี่ 62.0 g (2.2 oz) ติดต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อดาวน์โหลดข้อมูลผ่านทาง Infrared (IR) เป็นการตรวจวัดอาศัยหลักการ Electrochemical คำนวณค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาล ในรอบ 7, 14 วัน หรือ 30 วัน ให้ได้
อุปกรณ์ประกอบชุด
1.เครื่อง ACCU-CHECK Performa 1 เครื่อง
2.อุปกรณ์เจาะเลือด แอคคิว-เช็ค 1 ด้าม
3.แถบตรวจน้ำตาล 1 กล่อง จำนวน 10 ชิ้น
4.เข็มเจาะแอคคิวเช็ค 10 เข็ม
5.กระเป๋าสำหรับพกพา
6.คู่มือการใช้งาน
7.ถ่าน
4. Gluco Leader Blood Glucose Test Meter
★★★★★
อ่านผลการตรวจน้ำตาลในเลือดได้อย่างง่ายดาย
ยี่ห้อ/รุ่น | GlucoLeader Blood Glucose Test Meter |
ความเร็วในการอ่านค่า | 8 วินาที |
ปริมาณเลือดที่ใช้ | – |
อายุแบตเตอรี่ | 150 ข้อมูล |
GlucoLeader Blood Glucose Test Meter เครื่องตรวจน้ำตาล ในเลือด มีหน้าจอแสดงผลขนาดใหญ่ อ่านผลการตรวจได้ง่าย เวลาที่ใช้ประมวลผลภายใน 8 วินาที มีหน่วยความจำที่บันทึกได้ 150 การทดสอบ แสดงข้อมูลที่เก็บในหน่วยความจำ ระบุวันที่ และเวลาเครื่องจะทำการปิดเองอัตโนมัติภายใน 3 นาที
แผ่นตรวจ (ชนิดขวด) ฝาขวดเปิดง่าย แผ่นตรวจมีขนาดยาว สะดวกต่อการใช้งาน มีรูอยู่ 2 ข้าง ให้ใช้ข้างใดข้างหนึ่งในการตรวจเลือด
อุปกรณ์ประกอบชุด
1.ตัวเครื่อง GlucoLeaderTM รุ่น Enhance
2.แถบตรวจนํ้าตาลกลูโคสในเลือด (Blood Glucose Test Strip) 1 กล่อง มี 25 ชิ้น พร้อมโค้ดแถบตรวจฯ (Strip Code)
3.ปากกาเจาะเลือด 1 แท่ง และเข็มเจาะเลือด 25 ชิ้น
4.กระเป๋าใส่อุปกรณ์ 1 ใบ
5.คู่มือใช้งานภาษาอังกฤษ
ได้รับมาตรฐาน FDA
5. Terumo Medisafe EX
★★★★★
อ่านค่ารวดเร็ว เข็มเจาะขนาดเล็กเจาะแล้วไม่เจ็บ
ยี่ห้อ/รุ่น | Terumo Medisafe EX |
ความเร็วในการอ่านค่า | 5 วินาที |
ปริมาณเลือดที่ใช้ | 1.1 ไมโครลิตร |
อายุแบตเตอรี่ | 400 ข้อมูล |
เครื่องวัดน้ำตาล TERUMO รุ่น Medisafe EX เท่านั้น เข็มเจาะเลือดเจาะแล้วทำให้เกิดแผลเล็ก ไม่ค่อยเจ็บ ใช้ปริมาณเลือดในการตรวจค่าน้ำตาลเพียง 1.1 ไมโครลิตร (ประมาณเมล็ดถั่วเขียวผ่าครึ่ง) บันทึกข้อมูลระดับน้ำตาล วันที่และเวลาที่วัดได้สูงถึง 400ครั้งโดยอัตโนมัติ รูปแบบทันสมัย มีเสียงพูดภาษาอังกฤษ
รุ่นนี้พัฒนาจากรุ่นก่อนทำให้อ่านค่าน้ำตาลในเลือดได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น ใช้งานง่าย แผ่นตรวจน้ำตาลสามารถวัดระดับน้ำตาล 10-600 mg/dL โดยไม่ต้องใส่รหัสใดๆ เครื่องเปิดและตรวจสอบความพร้อมทันทีเมื่อสอดแผ่นตรวจน้ำตาลเข้าเครื่อง
มีปุ่มปลดทิ้งแผ่นตรวจน้ำตาลที่ใช้งานแล้ว ทำให้ไม่ต้องสัมผัสเลือด จึงให้ความปลอดภัยและสะดวกมากขึ้น เมื่อไม่มีการใช้งานเครื่องจะปิดเองเข็มเจาะเลือดจากปลายนิ้วผลิตจากญี่ปุ่นโดย Terumo ออกแบบเพื่อความปลอดภัยจะถูกซ่อนอยู่ภายในทั้งก่อนและหลังใช้งาน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากเข็มทิ่มตำ
ปรับระดับการเจาะของเข็มให้เหมาะกับความบางของผิวแต่ละบุคคลได้ 5 ระดับรูปแบบทันสมัย มีเสียงพูดภาษาอังกฤษ (ปิดเสียงหรือปรับความดังได้ 7 ระดับ) กะทัดรัด น้ำหนักเบา 45.2 กรัม LCD ขนาดใหญ่ เพื่อการอ่านค่าอย่างชัดเจน ใช้แบตเตอรี่อัลคาไลหาซื้อได้ทั่วไป 1.5V ขนาด AAA จำนวน 2 ก้อน
อุปกรณ์ประกอบชุด
1.เครื่องตรวจวัดน้ำตาล 1 เครื่อง
2.แถมเข็มเปลี่ยนให้ 30 อัน
3.แผ่นStripกระจกตรวจ 30 อัน
4.กล่องเก็บอุปกรณ์
6. Accu-Chek Guide
★★★★★
เครื่อตรวจน้ำตาล ใช้งานง่าย อ่านค่าได้รวดเร็ว
ยี่ห้อ/รุ่น | Accu-Chek Guide |
ความเร็วในการอ่านค่า | 4 วินาที |
ปริมาณเลือดที่ใช้ | 1.1 ไมโครลิตร |
อายุแบตเตอรี่ | 720 ข้อมูล |
Accu-Chek Guide หน่วยความจำ 720 ค่า มีปุ่มดีดแถบตรวจออกเมื่อใช้เสร็จ ถูกสุขอนามัย ใช้เวลาอ่านค่าเร็ว (น้อยกว่า 4 วินาที) มีระบบแจ้งเตือนเมื่อพบค่าน้ำตาลสูงหรือต่ำ เรียกดูค่าน้ำตาลเฉลี่ยได้ 7/14/30/90 วัน มีไฟที่ช่องเสียบแถบตรวจ สามารถตรวจได้ในที่แสงน้อย มีระบบล็อคแถบตรวจในขวด ไม่หล่นกระจายตามแรงโน้มถ่วง แถบรับเลือดกว้าง และใช้เลือดน้อยเพียง 0.6 ไมโครลิตร เชื่อมต่อข้อมูลผ่านบูลทูธไปที่แอปพลิเคชั่น รับประกันตลอดอายุการใช้งาน
ข้อมูลจำเพาะ
- ไม่ต้องตั้งโค้ด
- ไม่ต้องเซ็ตเครื่อง
- ตั้งเตือนให้ตรวจน้ำตาลหลังอาหาร
- เรียกดูค่าเฉลี่ยน้ำตาลก่อนและหลังอาหารได้
- แบตหนึ่งก้อนใช้งานได้ราว 2,000 test
- ใช้เวลาในการอ่าน4 วินาที
- ใช้งานได้ในอุณหภูมิ 6°C ถึง 44°C
- การเก็บรักษาเครื่อง:25°C ถึง +70°C ไม่ใส่แบตเตอรี่ และ-10°C ถึง +50°C ใส่แบตเตอรี่
- ทนความชื่น 10 ถึง 90%
- เก็บบันทึกข้อมูลได้ 500 ค่า ตามวันเวลา
- ขนาด 93 x 52 x 22 mm (L x W x H)
- น้ำหนักขณะมีแบตเตอรี่ 62.0 g (2.2 oz)
- ติดต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อดาวน์โหลดข้อมูลผ่านทาง Infrared (IR)
- เป็นการตรวจวัดอาศัยหลักการ Electrochemical
อุปกรณ์ประกอบชุด
1.เครื่องตรวจน้ำตาล Accu-chek Guide 1 เครื่อง
2.แบตเตอรี่ 2 ก้อน
3.อุปกรณ์เจาะเลือด แอคคิว-เช็ค ฟาสคลิก 1 ด้าม
4.ที่เจาะแอคคิวเช็ค ฟาสคลิก 6 เข็มบรรจุในกระเปาะ 1ชิ้น
5.กระเป๋าสำหรับพกพา
ข้อเสนอแนะ
ช่วงเวลาในการเลือกเจาะเลือดที่เหมาะสม ควรเป็นก่อนอา หารและก่อนนอน หรือ หลังอา หาร 1-2 ซม.
ผู้ป่วยที่ฉีดอินซูลิน ควรตรวจอย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง ส่วนผู้ป่วยที่รับประทานยาควรตรวจอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง โดยระดับน้ำตาลที่วัดได้ ก่อนอา หารควรอยู่ที่ 90-130 และ หลังอา หาร 1-2 ซม. ควรน้อยกว่า 180
วิธีการเลือกซื้อ เครื่องตรวจวัดน้ำตาลในเลือด
สิ่งสำคัญในการเลือกซื้อเครื่องตรวจน้าตาล
การเลือกซื้อเครื่องตรวจวัดระดับน้าตาลในกระแสเลือด มีสิ่งที่ควรพิจารณาก่อนเลือกซื้ออยู่ 3 อย่าง ได้แก่
- ค่าใช้จ่ายต่อการตรวจวัดน้าตาล 1 ครั้ง
การตรวจวัดระดับน้าตาลโดยเครื่องตรวจน้าตาลนั้น ในทุก ๆ ครั้งที่ตรวจ จะต้องใช้ แผ่นตรวจน้าตาล 1 แผ่น เสียบเข้าไปในตัวเครื่อง ซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองที่ต้องเสียทุกครั้งในการตรวจเลือด 1 ครั้ง นอกจากนี้แล้ว หากมีงบประมาณพอ การเปลี่ยนเข็มเจาะเลือด อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ก็จะเป็นการดี ดังนั้น หากมีงบประมาณไม่สูงมากนัก การเลือกซื้อเครื่อง ก็จะต้องดูราคาแผ่นตรวจน้าตาล ประกอบด้วย ว่าสามารถรับกับราคาในระยะยาวได้ไหม โดยถ้าต้องเจาะตรวจเบาหวานทุกวัน ค่าใช้จ่ายก็จะสูงมากขึ้นไปด้วย - ค่าผลตรวจน้าตาลที่วัดได้ ต้องแม่นยํา
การเลือกซื้อเครื่องตรวจน้าตาล ว่าจะใช้ยี่ห้อไหนดีนั้น สิ่งที่จําเป็นที่ต้องศึกษาให้ดี ก็คือเรื่องของค่าผลตรวจน้ำาตาลที่วัดได้ จะต้องมีความแม่นยํา เชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง เพื่อนํามาใช้ดูว่า ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้าตาล’ได้ดีไหม ดังนี้แล้ว บางครั้งอาจจะมีเครื่องตรวจน้าตาล ยี่ห้อโนเนม ราคาถูกมากอยู่ก็จริง แต่สิ่งที่ไม่มั่นใจก็คือ ค่าผลตรวจจะชัวร์ไหม ยิ่งถ้าใช้ไประยะยาวด้วยแล้ว การเลือกซื้อเครื่องตรวจน้าตาล จึงควรเลือกที่ยี่ห้อดีในระดับหนึ่ง - ระยะเวลาที่สินค้ายี่ห้อนั้นๆ ได้ขายอยู่ในประเทศไทย
เพราะว่าการตรวจวัดระดับน้าตาลในเลือดนั้น จะต้องทําอย่างเป็นประจํา และในผู้ป่วยเบาหวานนั้น จะต้องใช้กันไปตลอดชีวิต ซึ่งการจะตรวจวัดระดับน้าตาลในกระแสเลือดได้นั้น นอกจากจะต้องมีเครื่องวัดตรวจน้าตาลแล้วยังต้องใช้แผ่นตรวจน้าตาลด้วย และแผ่นตรวจน้าตาลแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่น ไม่สามารถใช้แทนกันได้ ดังนั้น ถ้าถามว่า เครื่องตรวจเบาหวานยี่ห้อไหนดี จึงต้องดูด้วยว่า บริษัทที่นําเข้าเครื่องมาขายนั้น จะมีแผ่นตรวจน้าตาลขายให้กับท่านในระยะยาวด้วยหรือเปล่า
วิธีการเลือกซื้อ เครื่องตรวจวัดน้ำตาลในเลือด
- ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก
- คุณสมบัติของเครื่อง เช่น แบตเตอรี่ที่ใช้ มีหน่วยความจำมากในการเก็บข้อมูล
- มีความเร็วในการแสดงผล
- ราคาของเครื่องเหมาะสม
- ราคาของแถบทดสอบหรือตลับทดสอบ ราคาของเข็ม ที่จะต้องซื้อเพิ่ม
- มีข้อมูลการใช้งานจากผู้ผลิต ข้อควรปฏิบัติ คำแนะนำในการใช้ ข้อควรระวัง การเก็บรักษา
- มีการบริการหลังขาย
บทสรุป
เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด หรือที่เรียกกันด้วยชื่อง่ายๆในหมู่คนไทยว่า Glucose Meter เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด คืออุปกรณ์ทางการแพทย์แบบหนึ่งที่มีไว้ เพื่อตรวจวัดค่าน้ำตาลความหวานในกระแสโลหิต ของผู้ป่วยหรือผู้มีอาการเบาหวาน ที่จะต้องวัดตลอดเวลา เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอาการขาดน้ำตาลเฉียบพลัน
อันจะนำไปสู่อาการช็อคและเสียชีวิตได้ ดังนั้น เครื่องนี้หลายคนมีไว้ติดตัว และคนสูงอายุก็ใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกวันนี้ เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด จึงต้องวัดค่าที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพเชื่อถือได้ และจากลิสที่เรานำมาเขียนรีวิวในครั้งนี้นั้นล้วนเป็นตัวทอปฮิตและ ผ่านการรับรองจากองค์กรณ์ต่าง ๆ ในบางตัวเป็นที่นิยมใช้ในสถานพยาบาล อย่างแพร่หลาย ผู้อ่านจะได้รู้จักและทำความเข้าใจจริง ๆ ก่อนการซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลมาใช้
ในการใช้เครื่องวัดน้ำตาลในเลือดหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ใด ๆ ก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ หรืออ่านเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ รวมไปถึงคู่มือในการใช้ วิธีในการเจาะเลือด ตรวจเลือด และคำเตือนต่าง ๆ ในการใช้เครื่องวัดน้ำตาลในเลือดด้วยค่ะ